1st class white logo

1 ในชื่อเรียกกัญชาอย่าง ‘Marijuana’มีการเหยียดเชื้อชาติอยู่เบื้องหลัง

Table of Contents

Marijuana

Marijuana : กัญชาเป็นที่รู้จักในฐานะสมุนไพรหรือยาที่มนุษย์ใช้รักษาโรคมาหลายพันปี แต่ที่มันถูกตราหน้าว่าผิดกฎหมายในปี 1937 ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะกัญชาเป็นที่คาดการณ์ว่า จะเป็นศัตรูคู่แข่งของอุตสาหกรรมยาแก้ปวดและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (ก็ต้นกัญชามีประโยชน์เยอะอ่ะเนอะ ช่วยไม่ได้) ดังนั้น การที่รัฐบาลสหรัฐฯ ยุคนั้นออกมาประกาศห้าม มีความหมายเป็นการกีดกันทางการค้าล้วนๆ Marijuana (กัญชา) เป็นพืชพรรณผิดกฎหมาย กัญชาเลยมีศัพท์แสลง เรียกเพื่อเลี่ยงตำรวจเต็มไปหมด เช่น weed, pot, mary jane (โห ชื่อหวานมาก) ทว่าชื่อทางการจริงๆ คือ Cannabis ส่วน Marijuana คือชื่อแสลงที่พบเห็นแพร่หลายมากสุด

คำว่า Marijuana พัฒนามาจากคำว่า mallihuan ภาษา Aztec หนึ่งในภาษาที่ถูกใช้ในเม็กซิโก (ความหมายคือ นักโทษ) เรื่องของเรื่องคือ การปฏิวัติในเม็กซิโก ทำให้ชาวเม็กซิกันอพยพมาอยู่ที่สหรัฐฯ มากขึ้น สิ่งที่พวกเขาหอบข้ามประเทศมาด้วยคือวัฒนธรรมการสูบกัญชา ขณะเดียวกัน เจ้าบ้านก็ทนไม่ไหวกับอาชญากรรมที่ก่อโดยผู้อพยพ แถมภาพจำของชาวเม็กซิกันก็ดันเป็นภาพคนดูดกัญชา สังคมอเมริกันยุคนั้นจึงมองชาวเม็กซิกันทุกคนด้วยสายตาไม่เป็นมิตร เท่านั้นยังไม่พอ กัญชาก็โดนตราหน้าด้วยว่าเป็น ‘evil weed’ สเตอริโอไทป์กันแบบใจร้ายสุดๆ ไปเลย

สอดคล้องกับช่วงที่รัฐบาลสหรัฐฯ มีนโยบายแบนกัญชา จากที่เคยเรียกกัญชาด้วยชื่อทางการอย่าง Cannabis พวกเขาก็เปลี่ยนมาเรียก Marijuana ช่วงหนึ่ง แถมยังเอาคำๆ นี้ ไปใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อ และตั้งเป็นชื่อกฎหมายกัญชาฉบับแรกอย่าง ‘The Marijuana Tax Act of 1937’ เพื่อให้คนอเมริกันรู้สึกกับกัญชาในแง่ลบแบบสุดทางนั่นเอง

credit : www.ili-co.me/u/2021/06/love-cannabis

กฎหมาย “แอลกอฮอล์” กับ “กัญชา” สองความเหมือนที่แตกต่าง ?

สังคมไทยยังคงถกเถียงเรื่องความเหมาะสมในการซื้อขายและบริโภคเครื่องดื่ม “แอลกอฮอล์” รวมถึง “กัญชา” โดยเฉพาะปัจจุบันที่เครื่องดื่ม “แอลกอฮอล์” ถูกรัฐควบคุมอย่างเข้มงวด ออกกฎหมายเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ “กัญชา” นั้นได้รับการปลดล็อคจากบัญชียาเสพติด โดยยังไม่มีกฎหมายควบคุมดูแลอย่างชัดเจนเหมาะสม ทำให้ผู้คนในสังคมไม่ทันได้ตั้งตัว และเกิดการตั้งคำถามอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยบังคับใช้กฎหมายไทยควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาตั้งแต่อดีตทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการบริโภค และเริ่มเข้มงวดขึ้นในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการออกประกาศคณะปฏิวัติปี ฉบับที่ 253 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน

Read More »