1st class white logo

ทำไมเราต้องรู้เรื่องกัญชา? เพราะกัญชาเกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมในการรักษาโรค

Table of Contents

กัญชา กับ รักษาโรค กัญชา เคยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และต่อมาประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้เมื่อ 9 มิ.ย. 2565 รักษาโรค โดยใช้ส่วนของพืชกัญชา-กัญชง ไม่เป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (Tetrahydrocannabinol – THC, ∆9-THC) เกิน 0.2 % ที่ยังต้องถูกจัดในหมวดหมู่ยาเสพติดให้โทษ แต่การสูบกัญชาในที่สาธารณะ และรบกวนสิทธิผู้อื่น มีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท และการสูบกัญชาในที่สาธารณะ ยังไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรง เช่น บุหรี่ ที่มี พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ควบคุมอยู่

ที่หลายๆ ประเทศยอมถอดกัญชาออกจากสิ่งเสพติด เป็นเพราะว่าฤทธิ์ทางยาของมันช่วยผู้ป่วยและแบ่งเบาภาระบุคลากรทางการแพทย์ แถมตลอดหลายปีที่ผ่านมา ก็มีงานวิจัยเกี่ยวกับกัญชามากมายที่สนับสนุนว่า พืชสมุนไพรตัวนี้รักษาโรค บางโรค อาทิ โรคพาร์กินสัน รักษาโรคปลอกประสาทอักเสบ โรคลมชัก ลดอาการข้างเคียงของการรักษามะเร็ง (หรือการทำคีโม) ได้จริง คือถ้าเราใช้มันในทางที่ถูกต้องและควบคุมการใช้งานให้อยู่ในร่องในรอยได้ยังไงก็ดี

รายการทีวีในบ้านเราก็หยิบประเด็น ‘กัญชาเป็นยาทางเลือก’ มาพูดก็เยอะ ตั้งแต่เคสการใช้กัญชาที่ถูกบันทึกในตำรับยาหลวง ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยที่ระบุว่าการบริโภคกัญชาช่วยเรื่องการนอนหลับ หรือการที่ชาวบ้านทาน้ำมันกัญชารักษามะเร็ง (อันนี้ยังไม่มีงานวิจัยรับรองนะ) ซึ่งทุกวันนี้ การใช้สารสกัดกัญชารักษาโรค บ้านเราสามารถทำได้แล้ว แต่ผู้ป่วยต้องมีใบสั่งจากแพทย์ในโรงพยาบาลที่มีคลินิกกัญชาเท่านั้น การผลิตและใช้เองก็ยังถือว่าผิดกฎหมายอยู่

แต่ความเป็นจริงที่เราปฏิเสธไม่ได้คือ การรักษาโรค คนที่ไม่มีเงินรักษาตัวจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะปลูกกัญชา สกัดน้ำมันมาใช้เอง เสี่ยงทำเรื่องผิดกฎหมาย เพียงเพราะอยากจะหายทรมานจากอาการป่วย ถ้ามองในกรอบความเท่าเทียมในการเข้าถึงยารักษาโรค เราคงพูดแบบกำปั้นทุบดินได้ว่า กัญชาก็น่าจะเป็นคำตอบนั้นได้นะ

แต่ก็ด้วยการออกฤทธิ์แบบสารเสพติดของกัญชา ก็ทำให้เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ความเท่าเทียมที่เราฝันถึงจะมีเรื่องไม่สวยงามอะไรตามมาด้วยหรือเปล่า 

กัญชา คือพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบสัมปะหลังหรือใบละหุ่ง ริมใบทุกแฉกมีลักษณะเป็นจักๆ ใบหนึ่งมีราว 5-8 แฉก ในก้านเดียวกัน ออกดอกตามง่ามกิ่งก้าน โดยใบกัญชาสดจะอุดมไปด้วยสารอาหารทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด

รักษาโรค โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต (2562) ได้ให้ความหมายคำว่า กัญชาเพื่อการแพทย์ ตามข้อมูลขององค์การอาหารและ ยาสหรัฐ หรือ FDA (Food and Drug Administration) นั้นถูกตีความมาจากสารสกัดพื้นฐานจากพืชกัญชา เพื่อนำมารักษาผู้ที่มีปัญหาการเจ็บป่วยที่เข้าเงื่อนไขทางวิชาการ มีการพัฒนาการวิจัยอย่างต่อเนื่องมาตลอดหลายทศวรรษ ซึ่งหลายประเทศได้พัฒนาและนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แล้ว ในประเทศไทยกัญชาจัดเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522 ซึ่งปัจจุบันในสังคมไทยมีการตื่นตัวกับกระแส “กัญชาฟีเวอร์” หรือการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์นับจากที่ พระราชบัญญัติยาเสพติด ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 ได้มีผลบังคับใช้ เพื่อเปิดทางให้มีการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างเสรี ทำให้ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างยิ่ง จากผลการบังคับใช้ที่สามารถนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์นั้น ส่งผลให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นอย่างมาก ทำให้เกิดทัศนคติและความรอบรู้ต่อกัญชาเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในการนำมาใช้รักษาผู้ป่วยที่ช่วยผ่อนคลาย และบรรเทาความเจ็บปวดจากโรคมะเร็ง ซึ่งสารสกัดจากกัญชาช่วยบรรเทาอาการของโรคเท่านั้น

  • ความเสี่ยงจากผลข้างเคียงการใช้กัญชา
  • ผลกระทบระยะสั้น
    • ตาแดง ปากแห้ง และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
    • หายใจเร็ว ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงผิดปกติ
    • ความรู้สึกเชื่องช้ากระบวนการคิดและการแก้ปัญหาบกพร่อง
    • หลงๆ ลืมๆ ความจำบกพร่อง
    • สมาธิสั้น
    • การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง
    • อารมณ์แปรปรวน
  • ผลกระทบระยะยาว
    • ความพึงพอใจในการใช้ชีวิตลดลง เกิดความซึมเศร้าด้อยค่าตนเอง
    • สุขภาพจิตแย่ลง เกิดความเครียด วิตกกังวล และหวาดระแวงจาก
    • การการทำงานของระบบประสาทและสมองที่ผิดเพี้ยน
    • สุขภาพร่างกายแย่ลง ภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ และเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ
    • เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวและคนรอบข้าง
    • มีมุมมองต่อสังคมในด้านลบ และหวาดระแวง
    • ก่อเกิดปัญหาทางสังคมและอาชญากรรม

กลุ่มผู้ที่ไม่ควรใช้กัญชาทางการแพทย์

  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคทางจิต หรือเสพติดยาที่เคยมีผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง

แน่นอน กัญชาทางการแพทย์ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ จึงจะมีประโยชน์และหลีกเลี่ยงโทษของกัญชาจากความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณ

เมนูยอดฮิตสำหรับกัญชา

  • แคนนาบัตเตอร์ (Cannabutter)
  • บราวนี่กัญชา
  • ก๊วยเตี๋ยวน้ำกัญชา
  • ยำกัญชากรอบ
  • เล้งแซ่บกัญชา
  • คราฟท์โซดากัญชา
  • ชาไทยลั้ลล้า
  • อื่นๆ

อาหารเสริมกัญชา

ที่เป็นที่นิยมคือน้ำมันกัญชา จะใช้โดยการหยดน้ำมันใต้ลิ้น (Sublingual Drop) เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์เร็วขึ้นและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากกว่าการให้อาหารเสริมที่อยู่ในรูปแบบแคปซูลหรือเม็ด และน้ำมันอีกทั้งยังสามารถเจือจางความเข้มข้นของยาได้ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยและโรคที่กำลังบำบัดรักษาโดยแพทย์ผู้สั่งจ่าย โดยในกัญชาอาหารเสริมจะมีสารสำคัญ ดังนี้

  • สาร CBD มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง
  • สาร THC มีผลต่อจิต ประสาท ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร แต่ใช้ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดเพื่อลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของการใช้

โดยแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกัญชาจะต้องศึกษาวิธีการใช้และคำเตือนอย่างเข้าใจถึ่ถ้วนและชัดเจน เพื่อป้องกันการได้รับผมข้างเคียงจากการใช้ ที่สำคัญคุณควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมกัญชาสำหรับสนับสนุนการบำบัดรักษาโรคร่วมด้วยหรือไม่

การกินใบกัญชาสดหรือผสมกัญชาในอาหารและเครื่องดื่ม ในปริมาณที่พอเหมาะในปริมาณที่เหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนดจะมีสรรพคุณทางสารอาหารมากกว่าการสูบควันหรือไอน้ำ จะช่วยให้คุณเจริญอาหารและได้รับสรรพคุณทางสารอาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในใบกัญชาสด แต่มีเงื่อนไขอยู่เล็กน้อยถ้าหากต้องการใช้เพื่อรักษาและบำบัดอาการผิดปกติบางอย่าง คุณต้องล้างระบบย่อยอาหารของคุณก่อนที่จะกินหรือดื่มเข้าสู่ร่างกาย เพราะการกินหรือดื่มกันชาจะให้ผลลัพธ์น้อยเมื่อมีอาหารอยู่ในกระเพาะเพราะฤทธิ์กัญชาจะเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยมาก และใช้เวลานานประมาณ 30 นาที และอาจเป็นชั่วโมงได้ 

คำแนะนำสำหรับการใช้กัญชา

  • ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนใช้เป็นอันดับแรก และศึกษาหาความรู้ทั้งในด้านหลักการใช้และอาการข้างเคียงที่จะสังเกตได้
  • ชะลอความต้องการใช้กัญชาให้นานที่สุด คำนึงถึงผลได้ผลเสียที่อาจส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพ และความปลอดภัยของคนรอบข้างอย่างถี่ถ้วน และไม่ควรก่อนใช้ก่อนวัยอันควร เช่น เด็กวัยกำลังเรียนรู้ และวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นต้น
  • หากคุณกำลังตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการใช้อย่างเด็ดขาด เพราะมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ หรือหากคุณหรือสมาชิกในครอบครัวมีประวัติโรคทางจิตหรือเคยมีปัญหาจากระบบประสาทและสมองจากใช้ติดสารเสพติดต่างๆ ไม่ควรจะยุ่งกับกัญชาเป็นอย่างยิ่ง
  • เลือกผลิตภัณฑ์กัญชา ที่มีสาร THC ต่ำ (ควรต่ำกว่า 2.0% เทียบกับประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขไทย) และมีปริมาณCBD สูง
  • หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดใช้กัญชาทันที หรือหากมีอาการถอนต้องรีบไปพบแพทย์
  • อยู่ห่างจากผลิตภัณฑ์กัญชาสังเคราะห์ เช่น K2 หรือ Spice
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้กัญชาในลักษณะของการสูบ ให้เลือกรูปแบบการใช้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เช่น การการกินหรือการดูดซึมใต้ลิ้น และ *ข้อสำคัญ: การผสมกัญชาในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้คุณเกิดอาการมึนเมา เซื่องซึม เกิดอารมณ์แปรปรวน และเสี่ยงเกิดอาการประสาทหลอนได้
  • ห้ามใช้ยานพาหนะหรือเครื่องจักรอย่างน้อย 6 ชั่วโมงหลังใช้กัญชา เพราะต้องรอให้แน่ใจว่าคุณจะไม่มีอาการผิดปกติหรือได้รับผลข้างเคียงหลังใช้ 
  • ควรใช้เป็นครั้งคราว เช่น หนึ่งวันต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่านั้น และควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์คุณ
  • หากคุณไม่ได้รับการแนะนำให้ใช้กัญชาจากแพทย์ของคุณในด้านการบำบัดโรคหรือรักษาอาการผิดปกติบางอย่าง การไม่ใช้กัญชาเลยยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องสุขภาพของคุณจากผลข้างเคียงของกัญชา
  • ในประเทศไทย กัญชาได้ถูกจัดไว้ในหมวดหมู่ของยารักษาโรคที่ได้ถูกปลดล็อคมาใช้ในด้านทางการแพทย์ และเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายควบคุม แต่ก็ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการนำกัญชาเดินทางข้ามประเทศที่จะส่งผลต่อการทำผิดกฎหมายสิ่งเสพติดให้โทษที่ร้ายแรงในต่างประเทศที่อาจจะต้องโดนทั้งจำทั้งปรับ  เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ โรมาเนีย ตุรกี เป็นต้น และประเทศที่มีกฎหมายควบคุมสิ่งเสพติดรุนแรงอาจต้องโทษขั้นสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิตได้ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น 
  • กัญชาก็เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ถกเถียงกันมากที่สุดในสัมคมไทยในปัจจุบัน ทั้งในแง่ของกฎหมายและสุขภาพของประชาชน ที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการใช้กัญชาอย่างผิดวิธี หากประชาชนยังได้องค์ความรู้ในการใช้อย่างไม่ถูกต้องและทั่วถึง รวมถึงการเข้ามามีอิทธิพลของพ่อค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อยที่ไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมายที่ได้กำหนดมา จะเกิดผลเสียต่อสังคม ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาเศรษฐกิจตามมาได้ และการใช้กัญชาจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของกัญชาสำหรับสุขภาพอย่างชัดเจน 
  • การหลีกเลี่ยงการใช้กัญชา ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของใบสด ส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่ม ยา หรือสารสกัดอาหารเสริมใดๆ ซึ่งรวมถึงแหล่งที่มาจากกัญชง เพื่อบำบัดรักษาหรือดูแลสุขภาพด้วยตนเองโดนไม่ปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หากคุณสนใจประโยชน์ของใช้กัญชาสำหรับด้านสุขภาพและไม่เสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงการใช้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คุณควรไปขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพให้แน่ใจเสียก่อน ที่จะสามารถช่วยแนะนำคุณเกี่ยวกับผลประโยชน์เทียบกับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตลอดจนการใช้กัญชาให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขไทย

source : www.ili-co.me/u/2021/06/love-cannabis

https://pathlab.co.th/cannabis-how-to-use-it-for-your-health/

โรงพยาบาลวชิระภูเกิตเปิดให้บริการ
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตเปิดให้บริการ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย

โรงพยาบาลวชิระภูเกิตเปิดให้บริการ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย น้ำมันกัญชา ตำรับหมอเดชา  ตำรับยาแผนไทย(ที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม) เปิดให้บริการทุกวันพุธ เวลา 08.30 น. – 16.00 ตึกศรีพัชรินทรานุสร โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต source : www.vachiraphuket.go.th/news/คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย/

Read More »