1st class white logo

สารพัดเมนูกัญชา กินแล้วไม่ได้แปลว่าจะ high เสมอไป

Table of Contents

การกินให้เมาหรือ get high

การกินให้เมาหรือ get high : เชื่อว่าก่อนหน้านี้ทุกคนต้องเคยได้ยินสมญานามร้านก๋วยเตี๋ยวกัญชา ร้านไก่ทอดกัญชา ที่มีอยู่ทั่วสารทิศในเมืองไทย สิ่งที่ก๋วยเตี๋ยวกัญชาทุกร้านมีเหมือนกันคือ ความอร่อยที่ทำให้อยากกลับไปกินซ้ำๆ แต่เอาเข้าจริง ไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าคุณพี่เจ้าของร้านใส่กัญชาไปจริงๆ หรือเปล่า (ถ้าอยากรู้ไม่ไหว อันนี้ต้องแอบกระซิบถามหลังไมค์เองนะ)

หลังจากสเต็ปแรกของการปลดล็อกเกิดขึ้น เจ้าพืชตัวนี้จึงขยับเข้าใกล้เราได้อย่างถูกกฎหมายมากขึ้น ที่เดินไปจับต้องได้เลยก็คือสารพัดเมนูอาหารและเครื่องดื่มกัญชา ในคาเฟ่หรือร้านอาหารที่มองเห็นว่ากัญชาน่าจะเป็นจุดเพิ่มยอดขาย และไม่ใช่ทุกร้านจะคิดแบบเดียวกันเสมอไป เพราะหลายๆ ร้านก็ตั้งใจเป็นด่านแรกในการ educate ผู้บริโภคว่าจริงๆ แล้วกัญชาไม่ได้มีฤทธิ์อันตราย (high) หรือทำให้เราล่องลอยในอวกาศได้อย่างเดียวเท่านั้น อย่างน้อยๆ ในแง่การต้มยำทำแกง มันช่วยชูรส และทำให้คนกินเจริญอาหารได้นะ

ถ้าถามว่ากินอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาแล้วจะเมามั้ย คำตอบเป็นไปได้สองแบบ! เพราะมันขึ้นอยู่กับว่าไอ้สิ่งที่เรากินเข้าไป ใส่ส่วนประกอบไหนของต้นกัญชาลงไปนั่นเอง ตามร้านที่ทำขายอย่างถูกกฎหมาย วัตถุดิบหลักๆ ที่ใช้คือส่วนใบ (ที่ไม่ผิดกฎหมายเพราะใบมีสารทำให้เมาต่ำมากๆ) หรือเมนูดริ้งก์มาแรงอย่าง CBD Drink ที่มาจากการคั้นใบกัญชาสดๆ หรือชาจากใบที่ถูกนำไปอบแห้ง อันนี้ก็ไม่ทำให้เมานะ เว้นแต่ว่าใส่เกิน 5 ใบ ส่วนนี้ก็รับประกันไม่ได้ว่าร่างกายคุณจะตอบสนองเปลี่ยนไปจากเดิมหรือเปล่า

เราเรียกการกินให้เมาหรือ get high ว่าเป็นการเสพแบบ ‘edible’ ซึ่งส่วนประกอบที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นช่อดอกและน้ำมันจากเมล็ดกัญชา (กาดอกจันไว้เลยว่า ในบ้านเราการใช้สองส่วนนี้ในภาคครัวเรือนยัง ‘ผิดกฎหมาย’ อยู่ เนื่องจากว่ามันมีปริมาณของสารทำให้เมาสูง กฎหมายจึงกำหนดให้ใช้ได้แค่ในเชิงการวิจัยและการแพทย์เท่านั้น) อย่างพวกคุกกี้ หรือบราวนี่อวกาศที่เคลมว่ากินแล้วเมา หรือกินไปสัก 10 นาทีแล้วเกิดอาการตาหวาน มู้ดเปลี่ยน หรือมีอาการแพนิกเกิดขึ้น อันนี้ก็สงสัยได้เลยว่า คุณพี่ใส่ส่วนผสมต้องห้ามลงไปแน่ๆ

credit : www.ili-co.me/u/2021/06/love-cannabis

สธ-ชูความสำเร็จงานวิจัยกัญช
สธ.ชูความสำเร็จงานวิจัยกัญชา 60 เรื่องผลักดันไทยเป็นเมดิคัลฮับ

นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์  ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการรวบรวมผลงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานภายในกระทรวงสาธารณสุข  ทั้ง กรมวิชาการ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณาสุข องค์การเภสัชกรรม และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ตั้งแต่มีการอนุญาตให้นำกัญชามาใช้ทางการแพทย์  ในปี 2562 พบว่ามีงานวิจัยทั้งสิ้น 60 ฉบับ  โดยเป็นการศึกษาด้านการนำไปใช้ประโยชน์สูงสุด 31 ฉบับ (55.00%) รองลงมาเป็นการศึกษาผลกระทบเชิงนโยบายและการออกแบบระบบ 14 ฉบับ (23.34%)

Read More »